ปลัด ศธ.ชี้มีหลายวิธีพัฒนาคุณภาพ เด็กเรียนเก่ง-อ่อนต่างกัน ครูต้องรู้และสอนเสริมให้ตรงจุดไม่ปล่อยจนแก้ไขยาก
จาก
กรณีที่ รมว.ศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
จะฟื้นการจัดทดสอบวัดผลกลาง ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
ทั่วประเทศ โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบปลายภาค
รวมทั้งกำลังปรับปรุงยกร่างระเบียบ
ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2557
จะมีผลให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับประถมศึกษา
จาก
กรณี รมว.ศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
มีนโยบายจะฟื้นการจัดทดสอบวัดผลกลาง ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(ศธ.) ทั่วประเทศ โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบปลายภาค
รวมทั้งกำลังปรับปรุงยกร่างระเบียบ
ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในปีการศึกษา2557
จะมีผลให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับประถมศึกษา
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.56 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน
แต่ได้ตั้งประเด็นว่าการที่ไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้นหรือซ้ำวิชา
เป็นสาเหตุให้มีการปล่อยเด็กที่เรียนอ่อนมาก เช่น เด็กที่อ่านไม่ออก
เขียนไม่ได้ ผ่านขึ้นมาเรื่อยๆ
จนมีจำนวนไม่น้อยที่เรียนจนจบมัธยมแล้วยังอ่านหนังสือไม่ได้เลย
ดังนั้นควรจะต้องมีการแก้ไข ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความซับซ้อน
ยุ่งยาก เพราะการบอกว่าจะให้เด็กตกซ้ำชั้น ถ้าไม่มีมาตรการ
ไม่มีระบบรองรับก็จะไม่เกิดผลอะไร
เพราะครูกับโรงเรียนก็จะไม่ยอมให้เด็กสอบตกอยู่ดี
เพราะเวลานี้ครูวัดผลกันเอง และอยู่ภายใต้ความกดดันของผู้อำนวยการโรงเรียน
ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปกครอง ที่ไม่อยากให้เด็กตกซ้ำชั้น
ถึงแม้เด็กจะเรียนไม่ได้ หรือเรียนไม่รู้เรื่องเลยก็อยากให้ผ่านไปเรื่อยๆ
เพราะฉะนั้นจึงโยงมากับเรื่องการทดสอบวัดผลกลางที่ได้มาตรฐาน
โดยต้องไปคิดกันว่าควรจะต้องมีการสอบวัดผลกลางระดับชั้นใดบ้าง
มีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน
โดยหลายประเทศก็ใช้วัดผลกลางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
แต่จะต้องทำระบบวัดผลกลางให้ได้มาตรฐานด้วย
"เวลานี้หลายคนเป็นห่วงว่าถ้าให้ซ้ำชั้นจะทำให้เด็กเสียอนาคต เสียเวลา
และทำใจไม่ได้ แต่ปัญหาคือคนที่เป็นห่วงเหล่านี้
ทำไมจึงทำใจได้ที่ปล่อยให้เด็กเรียนกันแบบไม่รู้เรื่อง จบ ม.6
แล้วยังอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำไมจึงจะปล่อยให้เด็กเสียอนาคตแบบนี้
การซ่อมเสริมที่ทำอย่างทุกวันนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เห็นผลจริง เช่น
ให้นักเรียนมาทำความสะอาดห้อง แล้วผ่าน เด็กยังอ่านไม่ออก
ก็ยังอ่านไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องพูดทั้งระบบ โดยโจทย์ใหญ่ คือจะปล่อยให้เด็กเรียนจบมาโดยอ่านไม่ออก จบมาโดยไม่มีคุณภาพไม่ได้"
นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า คำว่าตกซ้ำชั้นสมัยนี้ อาจจะมีทางออกอื่นด้วย อาทิ
ให้มีการตกซ้ำชั้นบางวิชาแต่ปัญหาคือถ้าตกซ้ำหลายวิชา จะทำอย่างไร
ซึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นการตกซ้ำชั้นเหมือนกัน
เรื่องใหญ่คือทำอย่างไรให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
ไม่ใช่เด็กเรียนไม่ได้ก็ให้ผ่านไปเรื่อยๆ
ส่วนจะเป็นแนวทางไหนนั้นก็จะต้องมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วย
ส่วนกรณีที่ สพฐ.
จะไปพิจารณาเรื่องการกลับไปใช้เปอร์เซ็นต์ในผลการเรียนแทนการใช้ระบบเกรด
เหมือนเดิมนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน
คงต้องนำไปหารือกับนักวิชาการ
และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนและการวัดผลก่อน
ดังนั้นเวลานี้จึงยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ลงตัว และยังไม่มีข้อสรุป
ด้านนางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. ใน
ฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) กล่าวว่า
เห็นด้วยกับการทบทวนการตกซ้ำชั้น
เพราะเรื่องนี้มีการพูดคุยกันมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว แต่ทั้งนี้
การเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1-6) เป็นการเรียนแบบรายวิชา
หากตกวิชาใดวิชาหนึ่งแล้วให้เรียนซ้ำชั้นใหม่
เรื่องนี้ต้องมาคิดกันหลายขั้นตอน เช่นต้องดูว่าเด็กอ่อนทุกวิชาหรือไม่
คะแนนเฉลี่ยทั้ง 8 กลุ่มสาระเป็นอย่างไร
หากไม่ตกทุกวิชาแล้วให้มาเรียนซ้ำชั้นใหม่จะเหมาะสมหรือไม่
เช่นเด็กบางคนเก่งเกือบทุกวิชา
แต่อาจไม่ชอบวิชาใดวิชาหนึ่งแล้วทำให้คะแนนเฉลี่ยตก
จะให้มาซ้ำชั้นอีกมันก็ยังไงอยู่
"การเรียนการสอนที่ทำให้เด็กมีคุณภาพนั้นมีหลายวิธี
โรงเรียนต้องมาดูว่าเด็กอ่อนวิชาไหน ก็ต้องติวให้เขา
แต่หากตกหลายวิชาก็ต้องให้เรียนซ้ำชั้น
เพราะครูต้องรู้ตั้งแต่เริ่มเรียนแล้วว่าเด็กเก่งอ่อนวิชาไหน
ไม่ใช่มารู้ตอนปลายเทอม อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่ได้ข้อยุติ
เพราะ สพฐ ต้องไปแก้ระเบียบ
ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนำไปประชาพิจารณ์ด้วย" ปลัด ศธ.กล่าว
ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
"จาตุรนต์" ชี้เเค่จุดประเด็น "ตกซ้ำชั้น" ย้ำยังไม่กำหนดนโยบาย
ทำเนียบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คลิกที่นี่
รม ว.ศึกษา ย้ำยังไม่กำหนดนโยบายชัดให้ “ตกซ้ำชั้น” แต่จุดประเด็นให้ตื่นตัว ถามกลับคนห่วงว่าเด็กจะเสียอนาคตเพราะซ้ำชั้นทำใจได้อย่างไรถ้าเด็กจะจบไป แบบไม่รู้เรื่อง ชี้ต้องฟังความเห็นรอบด้านและมีหลายวิธีที่จะทำได้ เช่น ซ้ำเป็นรายวิชา ด้าน ปลัด ศธ.การให้ตกหรือไม่ตกซ้ำชั้นไม่สำคัญเท่าวิธีการที่จะแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก | ||||
“เวลา นี้หลายคนเป็นห่วงว่าถ้าให้จบซ้ำชั้นจะทำให้เด็กเสียอนาคต เสียเวลา และทำใจไม่ได้ แต่ปัญหาคือ คนที่เป็นห่วงเหล่านี้ทำไมจึงทำใจได้ที่ปล่อยให้เด็กเรียนกันแบบไม่รู้ เรื่อง จบม.6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำไมจึงจะปล่อยให้เด็กเสียอนาคตแบบนี้ การซ่อมเสริมที่ทำอย่างทุกวันนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เห็นผลจริง เช่น ให้นักเรียนมาทำความสะอาดห้อง แล้วผ่าน เด็กยังอ่านไม่ออก ก็ยังอ่านไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องพูดทั้งระบบ โดยโจทย์ใหญ่คือจะปล่อยให้เด็กเรียนจบมาโดยอ่านไม่ออก จบมาโดยไม่มีคุณภาพไม่ได้”นายจาตุรนต์ กล่าว รม ว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า คำว่าตกซ้ำชั้นสมัยนี้ อาจจะมีทางออกอื่น ๆ เช่น ตกซ้ำชั้นบางวิชาแต่ปัญหาคือถ้าตกซ้ำหลายวิชา จะทำอย่างไร ซึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นการตกซ้ำชั้นเหมือนกัน เรื่องใหญ่คือทำอย่างไรให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เด็กเรียนไม่ได้ก็ให้ผ่านไปเรื่อย ๆ ส่วนจะเป็นแนวทางไหนนั้นก็จะต้องมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วย ส่วนกรณีที่ สพฐ.จะไปพิจารณาเรื่องการกลับไปใช้เปอร์เซ็นต์ในผลการเรียนแทนการใช้ระบบ เกรดเหมือนเดิมนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน คงต้องนำไปหารือกับนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนและการวัดผลก่อน ดังนั้นเวลานี้จึงยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ลงตัว และยังไม่มีข้อสรุป ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวว่า การให้เด็กตกซ้ำชั้นจะต้องมองให้รอบด้าน เพราะปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือคุณภาพการเรียนการสอนมีหลายแนวทาง โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็จะต้องไปดูรายละเอียด และหาแนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งการให้เด็กคนหนึ่งตกซ้ำชั้น ต้องดูด้วยว่าเด็กคนนั้นเรียนอ่อนทุกวิชาหรือไม่ ยกตัวอย่าง เด็กคนหนึ่งเรียนดีทุกวิชาแต่อ่อนในวิชาภาษาอังกฤษและสอบตกวิชานั้น แต่จะต้องตกซ้ำชั้น แบบนี้จะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีแนวทางให้ตกซ้ำเป็นรายวิชา หรืออาจะพิจารณาที่เกรดเฉลี่ย หากไม่ได้มาตรฐานที่กำหนด ก็อาจจะต้องให้ตกซ้ำชั้น เป็นต้น “ปัจจุบันเรา จัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญก็ควรจะต้องคิดหาวิธีการเพื่อมาพัฒนา ช่วยเหลือเด็ก โดยโรงเรียนและครูจะมีบทบาทสำคัญที่จะต้องสังเกตและรู้ว่าเด็กคนใดมีปัญหา เรียนอ่อน หรือไม่ทันเพื่อน เพื่อจะได้เร่งแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาการตกหรือไม่ตกซ้ำชั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับเรามีวิธีการใดที่จะช่วยแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก”นาง สุทธศรี กล่าว |
ทำเนียบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คลิกที่นี่