Miss you so much เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ม. 4/11 ประจำปีการศึกษา 2556

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรียนซ้ำอย่างมีคุณภาพ ดีกว่าปล่อยผ่านแต่อ่านเขียนไม่ได้



.....

ปลัด ศธ.ชี้มีหลายวิธีพัฒนาคุณภาพ เด็กเรียนเก่ง-อ่อนต่างกัน ครูต้องรู้และสอนเสริมให้ตรงจุดไม่ปล่อยจนแก้ไขยาก

     จาก กรณีที่ รมว.ศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะฟื้นการจัดทดสอบวัดผลกลาง ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทั่วประเทศ โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบปลายภาค รวมทั้งกำลังปรับปรุงยกร่างระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2557 จะมีผลให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับประถมศึกษา

จาก กรณี รมว.ศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายจะฟื้นการจัดทดสอบวัดผลกลาง ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทั่วประเทศ โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบปลายภาค รวมทั้งกำลังปรับปรุงยกร่างระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในปีการศึกษา2557 จะมีผลให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับประถมศึกษา 
     เมื่อวันที่ 10 ต.ค.56 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าว ว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน แต่ได้ตั้งประเด็นว่าการที่ไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้นหรือซ้ำวิชา เป็นสาเหตุให้มีการปล่อยเด็กที่เรียนอ่อนมาก เช่น เด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ผ่านขึ้นมาเรื่อยๆ จนมีจำนวนไม่น้อยที่เรียนจนจบมัธยมแล้วยังอ่านหนังสือไม่ได้เลย ดังนั้นควรจะต้องมีการแก้ไข ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะการบอกว่าจะให้เด็กตกซ้ำชั้น ถ้าไม่มีมาตรการ ไม่มีระบบรองรับก็จะไม่เกิดผลอะไร เพราะครูกับโรงเรียนก็จะไม่ยอมให้เด็กสอบตกอยู่ดี เพราะเวลานี้ครูวัดผลกันเอง และอยู่ภายใต้ความกดดันของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปกครอง ที่ไม่อยากให้เด็กตกซ้ำชั้น ถึงแม้เด็กจะเรียนไม่ได้ หรือเรียนไม่รู้เรื่องเลยก็อยากให้ผ่านไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นจึงโยงมากับเรื่องการทดสอบวัดผลกลางที่ได้มาตรฐาน โดยต้องไปคิดกันว่าควรจะต้องมีการสอบวัดผลกลางระดับชั้นใดบ้าง มีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน โดยหลายประเทศก็ใช้วัดผลกลางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน แต่จะต้องทำระบบวัดผลกลางให้ได้มาตรฐานด้วย
      "เวลานี้หลายคนเป็นห่วงว่าถ้าให้ซ้ำชั้นจะทำให้เด็กเสียอนาคต เสียเวลา และทำใจไม่ได้ แต่ปัญหาคือคนที่เป็นห่วงเหล่านี้ ทำไมจึงทำใจได้ที่ปล่อยให้เด็กเรียนกันแบบไม่รู้เรื่อง จบ ม.6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำไมจึงจะปล่อยให้เด็กเสียอนาคตแบบนี้ การซ่อมเสริมที่ทำอย่างทุกวันนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เห็นผลจริง เช่น ให้นักเรียนมาทำความสะอาดห้อง แล้วผ่าน เด็กยังอ่านไม่ออก ก็ยังอ่านไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องพูดทั้งระบบ โดยโจทย์ใหญ่ คือจะปล่อยให้เด็กเรียนจบมาโดยอ่านไม่ออก จบมาโดยไม่มีคุณภาพไม่ได้"
      นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า คำว่าตกซ้ำชั้นสมัยนี้ อาจจะมีทางออกอื่นด้วย อาทิ ให้มีการตกซ้ำชั้นบางวิชาแต่ปัญหาคือถ้าตกซ้ำหลายวิชา จะทำอย่างไร ซึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นการตกซ้ำชั้นเหมือนกัน เรื่องใหญ่คือทำอย่างไรให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เด็กเรียนไม่ได้ก็ให้ผ่านไปเรื่อยๆ ส่วนจะเป็นแนวทางไหนนั้นก็จะต้องมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วย
     ส่วนกรณีที่ สพฐ. จะไปพิจารณาเรื่องการกลับไปใช้เปอร์เซ็นต์ในผลการเรียนแทนการใช้ระบบเกรด เหมือนเดิมนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน คงต้องนำไปหารือกับนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนและการวัดผลก่อน ดังนั้นเวลานี้จึงยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ลงตัว และยังไม่มีข้อสรุป 
     ด้านนางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. ใน ฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการทบทวนการตกซ้ำชั้น เพราะเรื่องนี้มีการพูดคุยกันมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว แต่ทั้งนี้ การเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1-6) เป็นการเรียนแบบรายวิชา หากตกวิชาใดวิชาหนึ่งแล้วให้เรียนซ้ำชั้นใหม่ เรื่องนี้ต้องมาคิดกันหลายขั้นตอน เช่นต้องดูว่าเด็กอ่อนทุกวิชาหรือไม่ คะแนนเฉลี่ยทั้ง 8 กลุ่มสาระเป็นอย่างไร หากไม่ตกทุกวิชาแล้วให้มาเรียนซ้ำชั้นใหม่จะเหมาะสมหรือไม่ เช่นเด็กบางคนเก่งเกือบทุกวิชา แต่อาจไม่ชอบวิชาใดวิชาหนึ่งแล้วทำให้คะแนนเฉลี่ยตก จะให้มาซ้ำชั้นอีกมันก็ยังไงอยู่ 
     "การเรียนการสอนที่ทำให้เด็กมีคุณภาพนั้นมีหลายวิธี โรงเรียนต้องมาดูว่าเด็กอ่อนวิชาไหน ก็ต้องติวให้เขา แต่หากตกหลายวิชาก็ต้องให้เรียนซ้ำชั้น เพราะครูต้องรู้ตั้งแต่เริ่มเรียนแล้วว่าเด็กเก่งอ่อนวิชาไหน ไม่ใช่มารู้ตอนปลายเทอม อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะ สพฐ ต้องไปแก้ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนำไปประชาพิจารณ์ด้วย" ปลัด ศธ.กล่าว

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ



"จาตุรนต์" ชี้เเค่จุดประเด็น "ตกซ้ำชั้น" ย้ำยังไม่กำหนดนโยบาย


รม ว.ศึกษา ย้ำยังไม่กำหนดนโยบายชัดให้ “ตกซ้ำชั้น” แต่จุดประเด็นให้ตื่นตัว ถามกลับคนห่วงว่าเด็กจะเสียอนาคตเพราะซ้ำชั้นทำใจได้อย่างไรถ้าเด็กจะจบไป แบบไม่รู้เรื่อง ชี้ต้องฟังความเห็นรอบด้านและมีหลายวิธีที่จะทำได้ เช่น ซ้ำเป็นรายวิชา ด้าน ปลัด ศธ.การให้ตกหรือไม่ตกซ้ำชั้นไม่สำคัญเท่าวิธีการที่จะแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก


        นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีนโยบายให้ทบทวนเรื่องการตกซ้ำชั้นใหม่ โดยขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ยกร่าง ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผล ประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ มีเนื้อหาสาระที่จะให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับชั้นประถมศึกษาหากไม่ผ่านวิชาใด วิชาหนึ่งก็จะต้องตกซ้ำชั้นเพราะเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ส่วนระดับมัธยมศึกษานั้นหากไม่ผ่านในรายวิชาใดจะต้องมาลงเรียนรายวิชานั้น ใหม่ในภาคเรียนถัดไป หรือเมื่อโรงเรียนเปิดให้โดยไม่ต้องซ้ำชั้น ว่า ขณะ นี้ตนยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน แต่ได้ตั้งประเด็นว่าการที่ไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้นหรือซ้ำวิชา เป็นสาเหตุให้มีการปล่อยเด็กที่เรียนอ่อนมากผ่านขึ้นมาเรื่อย ๆ จนมีจำนวนไม่น้อยที่เรียนจนจบมัธยมแล้วยังอ่านหนังสือไม่ได้เลย ดังนั้นควรจะต้องมีการแก้ไข ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะการบอกว่าจะให้เด็กตกซ้ำชั้น ถ้าไม่มีมาตรการ ไม่มีระบบรองรับก็จะไม่เกิดผลอะไร เพราะครูกับโรงเรียนก็จะไม่ยอมให้เด็กสอบตกอยู่ดี เพราะเวลานี้ครูวัดผลกันเอง และอยู่ภายใต้ความกดดันของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปกครอง ที่ไม่อยากให้เด็กตกซ้ำชั้น ถึงแม้เด็กจะเรียนไม่ได้ หรือเรียนไม่รู้เรื่องเลยก็อยากให้ผ่านไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงโยงมากับเรื่องการทดสอบวัดผลกลางที่ได้มาตรฐาน โดยต้องไปคิดกันว่าควรจะต้องมีการสอบวัดผลกลางระดับชั้นใดบ้าง มีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน โดยหลายประเทศก็ใช้วัดผลกลางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน แต่จะต้องทำระบบวัดผลกลางให้ได้มาตรฐานด้วย
 
        “เวลา นี้หลายคนเป็นห่วงว่าถ้าให้จบซ้ำชั้นจะทำให้เด็กเสียอนาคต เสียเวลา และทำใจไม่ได้ แต่ปัญหาคือ คนที่เป็นห่วงเหล่านี้ทำไมจึงทำใจได้ที่ปล่อยให้เด็กเรียนกันแบบไม่รู้ เรื่อง จบม.6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำไมจึงจะปล่อยให้เด็กเสียอนาคตแบบนี้ การซ่อมเสริมที่ทำอย่างทุกวันนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เห็นผลจริง เช่น ให้นักเรียนมาทำความสะอาดห้อง แล้วผ่าน เด็กยังอ่านไม่ออก ก็ยังอ่านไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องพูดทั้งระบบ โดยโจทย์ใหญ่คือจะปล่อยให้เด็กเรียนจบมาโดยอ่านไม่ออก จบมาโดยไม่มีคุณภาพไม่ได้”นายจาตุรนต์ กล่าว
 
        รม ว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า คำว่าตกซ้ำชั้นสมัยนี้ อาจจะมีทางออกอื่น ๆ เช่น ตกซ้ำชั้นบางวิชาแต่ปัญหาคือถ้าตกซ้ำหลายวิชา จะทำอย่างไร ซึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นการตกซ้ำชั้นเหมือนกัน เรื่องใหญ่คือทำอย่างไรให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เด็กเรียนไม่ได้ก็ให้ผ่านไปเรื่อย ๆ ส่วนจะเป็นแนวทางไหนนั้นก็จะต้องมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วย ส่วนกรณีที่ สพฐ.จะไปพิจารณาเรื่องการกลับไปใช้เปอร์เซ็นต์ในผลการเรียนแทนการใช้ระบบ เกรดเหมือนเดิมนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน คงต้องนำไปหารือกับนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนและการวัดผลก่อน ดังนั้นเวลานี้จึงยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ลงตัว และยังไม่มีข้อสรุป
 
        ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวว่า การให้เด็กตกซ้ำชั้นจะต้องมองให้รอบด้าน เพราะปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือคุณภาพการเรียนการสอนมีหลายแนวทาง โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็จะต้องไปดูรายละเอียด และหาแนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งการให้เด็กคนหนึ่งตกซ้ำชั้น ต้องดูด้วยว่าเด็กคนนั้นเรียนอ่อนทุกวิชาหรือไม่ ยกตัวอย่าง เด็กคนหนึ่งเรียนดีทุกวิชาแต่อ่อนในวิชาภาษาอังกฤษและสอบตกวิชานั้น แต่จะต้องตกซ้ำชั้น แบบนี้จะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีแนวทางให้ตกซ้ำเป็นรายวิชา หรืออาจะพิจารณาที่เกรดเฉลี่ย หากไม่ได้มาตรฐานที่กำหนด ก็อาจจะต้องให้ตกซ้ำชั้น เป็นต้น
 
        “ปัจจุบันเรา จัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญก็ควรจะต้องคิดหาวิธีการเพื่อมาพัฒนา ช่วยเหลือเด็ก โดยโรงเรียนและครูจะมีบทบาทสำคัญที่จะต้องสังเกตและรู้ว่าเด็กคนใดมีปัญหา เรียนอ่อน หรือไม่ทันเพื่อน เพื่อจะได้เร่งแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาการตกหรือไม่ตกซ้ำชั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับเรามีวิธีการใดที่จะช่วยแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก”นาง สุทธศรี กล่าว


ทำเนียบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คลิกที่นี่
ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ครูไทยและเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปรึกษาหารือนอกรลอบเกี่ยวกับการติดตามและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ม.4/11 ปีการศึกษา 2556

  วันที่  10  กรกฎาคม  2556  ครูที่ปรึกษา ม.4/11 คือครูการุณย์  สุวรรณรักษา ครูวันชัย  อัครพงศธร และนักศึกษาฝึกสอน ได้รับการติดต่อจากประธานเครือข่ายผู้ปกครองชั้น ม.4/11  ให้ไปร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการติดตามและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ม.4/11 ปีการศึกษา 2556
ณ ร้านติมซำยามค่ำ หน้าปั๊ม ปตท.เขาแก้ว เวลา 19.30 น.


   จากการปรึกษาหารือ สรุปได้ว่า
    1.  ให้ติดต่อครูประจำวิชาทุกวิชา ข้อคะแนนผลการสอบระหว่างภาคซึ่งมีคะแนนเต็ม  20  คะแนน ทุก ๆ วิชา เพื่อแจ้งผลการสอบให้ผู้ปกครองทุกคนรับทราบ  เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขเสียแต่เนิ่น ๆ ไม่ปล่อยเอาไว้จนนักเรียนสอบติด 0  ในตอนปลายภาค
   2.  ขอผลคะแนนของครู 70  คะแนน  ก่อนการสอบปลายภาค  ของทุกรายวิชาเพื่อแจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบ จะได้ติดตามว่านักเรียนคนไหนขาดส่งรายงานชิ้นใด จึงทำให้คะแนนตกต่ำ จนมีแนวโน้มติด
0  ตอนปลายภาค
   จากข้อสรุปดังกล่าวพอจะเข้าใจอย่างท่องแท้ว่า ผู้ปกครองมีความห่วงใย ต่อการเรียนของลูก ๆ เป็นอย่างมาก จึงติดตามการเรียนของลูก ๆ ในทุกรายวิชา  ถ้าครูอาจารย์ให้ความร่วมมือยินดี เตรียมคะแนน
ตามข้อ 1  และข้อ 2  มอบให้ผู้ปกครองได้อย่างรวดเร็ว ก็นับว่าจะเกิดประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง
   ถึงเวลาแล้วที่ผู้ปกครอง คุณครูต้องติดต่อสื่อสารสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพื่อปิดโอกาสการสอบตก
ของนักเรียนอันเป็นลูกศิษย์ และลูก ๆ ของคุณพ่อคุณแม่ทุก ๆ คน
   ลูก ๆ  ม.4/11  ก็เช่นเดียวกัน ให้ตระหนักให้มาก ๆว่าพ่อแม่ผู้ปกครองมีความห่วงใยต่อพวกเธอเป็น
อย่างมาก  จึงควรประพฤติปฏิบัติตนให้ดี ให้เหมาะสมกับการเป็นลูกรักของพ่อแม่ อย่าเกเร นำความเดือดเนื้อร้อนใจให้พ่อแม่ จะต้องเสียใจ จะเป็นตราบาปติดตัวลูก ๆไปไม่มีวันลืม


                     เมื่อลูกเป็นคนดีดั่งที่หวัง                 ประดุจดั่งดอกไม้ที่สวยใส
                    คนเป็นพ่อเป็นแม่แสนพอใจ             จะหาใดมาเทียบไม่เปรียบปาน

                    เมื่อลูกนั้นกตัญญูรู้คุณแม่(พ่อ)       เปรียบได้แก่ดอกไม้ที่หอมหวาน
                    ทั้งพ่อ-แม่เป็นสุขทุกวันวาร             แสนชื่นบานสุขเหลือเมื่อลูกดี

                     แต่ถ้าลูกหยาบคายใจย่อมทุกข์      สิ้นความสุข,สิ้นชื่อ,สิ้นราศี
                    เปรียบดอกไม้กลิ่นเหม็นทั่วธานี       คือลูกที่เนรคุณมิหนุนนำ

                    ทำพ่อ-แม่สิ้นสุขทุกข์ถนัด               ดุจเวรซัดกรรมซ้อนเสียจนหนำ
                    น้ำตาพ่อแม่ไหลใจระกำ                  ทุกข์กระหน่ำยามลูกเนรคุณ

                อยากเป็นดอกไม้หอมบานพร้อมพรั่ง      เป็นความหวังตั้งใจมอบไออุ่น
                  ให้พ่อแม่แย้มยิ้มได้อิ่มบุญ                      คอยค้ำจุนหนุนเกื้อเพื่อทดแทน

                  แต่เป็นได้แค่ดอกดินไร้กลิ่นหอม            ไม่เพียบพร้อมอันใดทุกข์ใจแสน
                 สิ่งที่ท่านเฝ้าหวังยังขาดแคลน                เพียงสองแขนลูกน้อยคอยประคอง

                 ไม่นับว่ากตัญญูรู้คุณท่าน                      เพราะเหตุการณ์นั้นมีที่บกพร่อง
                  แต่สำนึกในใจยังใฝ่ปอง                        ยังเรียกร้องยึดมั่นกตัญญู


 ขอบคุณข้อมูล http://www.klonthaiclub.com

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปรับคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 5


ปรับครม.ปู5กอบกู้'ขาลง' เร่งรัด'ทักษิณ'กลับบ้าน : สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์รายงาน


              ชัดเจนว่า การปรับ ครม.ครั้งใหม่ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นไปเพื่อ "กู้สถานการณ์" รัฐบาล "ขาลง" ที่กำลังเจอพิษโครงการจำนำข้าว และอีกสารพัดปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา ซึ่งหากเป็นไปตามโผก็ต้องบอกว่า ครม. "ปู 5" จะเป็น ครม.ที่หน้าตาดีที่สุดของรัฐบาลชุดนี้

              นอกจากเหตุผลใหญ่ คือ เพื่อกู้สถานการณ์ขาลงแล้ว หากพิจารณาในรายละเอียด จะเห็นว่า เป็นการปรับ ครม.ที่ตอบโจทย์ทางการเมืองได้อีกหลายเรื่อง

              หนึ่ง ปรับเอารัฐมนตรีที่มีปัญหาออก เห็นได้ชัดจากกรณีของ "นายบุญทรง เตริยาภิรมย์" ที่โดนปลดออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพราะบริหารงานผิดพลาดในโครงการจำนำข้าว ถึงแม้จะเป็นที่รู้กันดีว่า นายบุญทรง ก็เป็นเพียง "แพะรับบาป" แต่เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ มาแสดงความรับผิดชอบด้วยในฐานะหัวหน้ารัฐบาล เพราะโครงการนี้เป็นนโยบายของรัฐบาล หรือจะให้รัฐบาลตรวจสอบลากไปว่า มี "ใคร" อยู่เบื้องหลังความผิดพลาดของนายบุญทรง ที่ถูกมองว่าเป็นเพราะมีเจตนา "ทุจริต" ดังนั้นการปลดนายบุญทรง จึงเป็น "ทางเลือก" ที่ดีที่สุดของรัฐบาล

              เรื่องนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ตัดสินใจปรับ ครม.เร็วขึ้นกว่าเดิมที่กำหนดไว้ว่า จะทำช่วงเปิดสมัยประชุมสภาประมาณต้นเดือนสิงหาคม ซึ่งรัฐบาลจะมีอายุครบ 2 ปีพอดี

              นอกจากนายบุญทรงแล้ว นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ที่ถูกปรับพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็เป็นอีกคนที่จัดว่า ถูกปรับออกไปเนื่องจากมีปัญหาในการบริหารงาน โดยเฉพาะกรณีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ปรากฏข่าวว่านายวรวัจน์พยายามเข้าไปล้วงลูกเรื่องการใช้จ่ายเงินถึงขั้น ข้าราชการแต่งชุดดำประท้วง

              สอง ปรับเพื่อกู้ภาพลักษณ์ ซึ่งเห็นได้จากรัฐมนตรีใหม่ที่เข้ามา ส่วนใหญ่จะมีภาพลักษณ์ดี ไม่ว่าจะเป็น นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่มาเป็น รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่นายจาตุรนต์เคยทำงานมาก่อน, นางปวีณา หงสกุล "แม่พระของเด็กและสตรี" ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขณะที่แกนนำเสื้อแดง "ฮาร์ดคอร์" อย่างนายจตุพร พรหมพันธุ์ ยังคง "อกหัก" ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ามาเป็นรัฐมนตรี

              นักวิเคราะห์มองว่า การที่อดีตนายกฯ ทักษิณต้อง "ดับฝัน" ของนายจตุพร อีกครั้ง แสดงว่าทักษิณคงอยาก "กลับบ้าน" เร็วๆ เพราะการไม่ตั้งจตุพร จะช่วยลดแรงปะทะจากฝ่ายต่อต้านไปได้พอสมควร แต่ถ้าถามว่า หมายความว่าทักษิณจะเลิกเล่นเกมแรงหรือไม่ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะทักษิณรู้ดีว่า "พลังคนเสื้อแดง" ที่พร้อมจะปกป้องและช่วยค้ำยันรัฐบาล ไม่ได้มีเฉพาะ "แดง นปช." เท่านั้น แต่ "แดง นปช." เป็นแค่คนกลุ่มหนึ่งในบรรดา "คนเสื้อแดง" หลายกลุ่มที่ส่วนใหญ่อิงอยู่กับแกนนำในระดับพื้นที่ที่ต่อสายสัมพันธ์อยู่ กับนักการเมืองของพื้นที่นั้นๆ เช่น แดงภาคอีสาน ก็ยึดโยงอยู่กับ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ครั้งนี้ได้มาเป็นรองนายกฯ คุมตำรวจ หรือแดงภาคเหนือ ก็ยึดโยงอยู่กับเจ๊แดง "เยาวภา วงศ์สวัสดิ์" นั่นหมายความว่า ต่อให้จตุพร ไม่พอใจ และอยากแสดงฤทธิ์เดช ก็ไม่กระทบกระเทือนมากนัก โดยเฉพาะเมื่อนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ยังมีตำแหน่งอยู่ในคณะรัฐมนตรี

              สาม สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพ การที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมนั้น แสดงว่ารัฐบาลเลือกที่จะเล่นบท "นุ่มนวล" กับกองทัพ ตอกย้ำเรื่องที่ว่าทักษิณ "อยากกลับบ้าน" เพราะที่ผ่านมานายกฯ ยิ่งลักษณ์ เป็นคนเดียวที่พูดจากับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ "รู้เรื่อง" โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการคนเดิม หรือ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ครั้งนี้ยอมลดเกรดตัวเองมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ

              พล.อ.ประยุทธ์ จะเกษียณอายุราชการในปีหน้า การจัดโผแต่งตั้งโยกย้ายทหารปีนี้ จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันหมายถึงทั้งอนาคตของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่าจะได้เกษียณในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกหรือไม่ หรือจะถูกเด้งไปตำแหน่งอื่น, ขณะที่อนาคตของกองทัพ ไม่ว่าจะไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ซึ่งหมายถึงอนาคตของทักษิณด้วยเช่นกันว่า เขาจะได้กลับบ้านหรือไม่

              สี่ นำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาทำงาน ไม่ว่าจะเป็นนายชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด ที่ตามโผจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, นายยรรยง พวงราช อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ มาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตอธิบดีกรมศุลกากร มาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ก็เสี่ยงต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการ "ตกรางวัล" ให้(อดีต)ข้าราชการที่ "แนบแน่น" กับฝ่ายทักษิณได้เหมือนกัน

              สำหรับบทบาทของนายยรรยง ก่อนหน้านี้เขาได้ออกมาตอบโต้ และปะทะคารมกับพรรคประชาธิปัตย์หลายครั้ง ทั้งเรื่องสินค้าราคาแพง และเรื่องจำนำข้าว โดยนายยรรยงเล่นบทกร้าวถึงขนาดเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปลดนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง เพราะทำหน้าที่ไม่เป็นธรรม มีบุคลิกภาพไม่เหมาะสมเป็นโฆษกพรรค ถึงขนาดยืมภาษาตลาดมาใช้เปรียบเปรยนายชวนนท์ว่า หน้าตาเหมือนกับปลาบู่ชนเขื่อน

              ส่วนนางเบญจา เป็นผู้ที่มีบทบาทโดดเด่น ในกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป ของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตอนนั้น นางเบญจา ในฐานะรองอธิบดีกรมสรรพากร ได้ออกมาการันตีว่า การขายหุ้นชินคอร์ป "ไม่ต้องเสียภาษี"

              ห้า เหตุผลทางการเมือง โดยการสลับสับเปลี่ยนคนที่ทำงานให้พรรคเข้ามาเป็นรัฐมนตรี เช่น นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร มือกฎหมายของพรรค เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาตร์ฯ, วิเชษฐ์ เกษมทองศรี คนใกล้ชิดทักษิณอีกคน ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งไปเป็นประธานบอร์ด ปตท. มาครั้งนี้ลาออกมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม, การสลับให้ลูกชายนายเสนาะ เทียนทอง คือ นายสรวงศ์ เทียนทอง มาเป็น รัฐมนตรีแทน นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ถูกลดตำแหน่งไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แทนที่จะถูกปลดออกไปเลยนั้น ก็เพราะทั้งยิ่งลักษณ์และทักษิณ ยังมั่นใจว่า การเก็บเฉลิมไว้ใกล้ตัวน่าจะเป็นประโยชน์กว่าผลักออกไป

              ในระยะสั้น การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลเอง ส่วนจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างไรต้องดูกันในระยะยาว

เปิดปูมว่าที่รัฐมนตรีครม.ปู 5
              นายจาตุรนต์ ฉายแสง ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จาตุรนต์ถือเป็นคนที่ทำงานกับพรรคมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกรัฐประหาร ต้องไปอยู่ต่างประเทศ เขาก็ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งพรรคถูกยุบ และเป็น 1 ใน 111 กรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ถูกตัดสิทธินั้น เขาก็ไม่ได้หายไปไหน ยังคงช่วยงานพรรคอยู่เรื่อย ไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชาชน หรือ พรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ยังช่วยงานคนเสื้อแดงในฝ่ายวิชาการ และขึ้นเวทีคนเสื้อแดงในการต่อสู้ทางการเมืองแทบทุกครั้ง

              นายจาตุรนต์นั้น ถูกมองว่าเป็นรัฐมนตรีน้ำดีคนหนึ่ง และเคยมีประสบการณ์มาแล้วหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น รองนายกฯ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รมว.ยุติธรรมรัฐมนตรี รมว.ศึกษาธิการ และ รมช.คลัง ซึ่งครั้งนี้เขาได้กลับเข้ามาทำงานที่ถนัดและเคยได้รับคำชมเชย เนื่องจากที่ผ่านมา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ในตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม ซ้ำยังทำให้ถูกโจมตีโดยแนวคิดยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

              วิเชษฐ์ เกษมทองศรี ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เขาถูกมองว่าเป็นตัวจริงอีกหนึ่งคน โดยทำงานร่วมกันมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทย และเป็นนายทุนพรรค โดยนายวิเชษฐ์เป็นคนที่ได้รับความไว้วางใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเก็บความลับ

              นายวิเชษฐ์ถูกมองว่าเป็นตัวจริงคนหนึ่งและจ่อคิวรับตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่ การปรับ ครม.เมื่อครั้งที่ผ่านมา แต่ก็พลาดไป จนได้กลับมาเป็นในครั้งนี้

              นางปวีณา หงสกุล เป็นนักการเมืองมานาน โดยเริ่มต้นสังกัดพรรคประชากรไทยของ นายสมัคร สุนทรเวช ต่อมาย้ายมาอยู่พรรคชาติพัฒนา จนกระทั่งมาควบรวมกับพรรคไทยรักไทย โดยเคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.ถึงสองครั้ง ในปี 2543 ซึ่งครั้งนั้น นายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคประชากรไทย ได้รับเลือกตั้ง และในปี 2547 ก็พ่ายให้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย ทำให้นางปวีณาต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี

              นางปวีณาเป็นที่รู้จักของสังคมในฐานะนักสังคมสงเคราะห์ และทำงานที่มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์) คอยช่วยเหลือเด็กและสตรีผู้ด้อยโอกาส และมักจะปรากฏเป็นข่าวตามหน้าสื่อ ทำให้ครั้งนี้เธอกำลังจะได้รับตำแหน่ง รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

              นายพงศ์เทพ เทพกาญจณา รองนายกรัฐมนตรี ร่วมทำงานมาตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย และเป็นมือกฎหมายให้พรรคมาตลอดเวลา เนื่องจากเขาเคยเป็นผู้พิพากษา แต่ได้ลาออกมาในช่วงวิกฤติตุลาการ ทั้งนี้ในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเขาเคยดำรงตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม มาแล้ว และเมื่อพรรคถึงขาลง โดยการถูกรัฐประหารหรือถูกยุบพรรคถึงสองครั้ง เขาก็ยังคงช่วยงานพรรคอยู่และเป็นหนึ่งในทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย รวมถึงขึ้นเวทีคนเสื้อแดงในลักษณะให้ความรู้ทางกฎหมาย รวมถึงงานสัมมนาทั่วไป ทำให้ถูกมองว่าเป็นรัฐมนตรีตัวจริงคนหนึ่ง จนได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการเมื่อครั้งที่ผ่านมา

              อย่างไรก็ตาม เมื่อมาเป็น รมว.ศึกษาธิการ กลับมีบทบาทที่ไม่เด่นชัดนัก งานที่มีอยู่มักมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยทำเสียมากกว่า เพราะมีภารกิจอื่น นอกจากนี้ยังเป็นสายล่อฟ้า เมื่อนำเสนอนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กและจัดซื้อรถตู้รับส่ง 1,000 คันแทนจนถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

              นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวิสารเคยเป็น ส.ส.เชียงราย พรรคไทยรักไทย โดยอยู่ในกลุ่มของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา ทั้งนี้เมื่อนายวิสารถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจากการยุบพรรคไทยรักไทย จากนั้นนายวิสารก็ไม่ค่อยมีบทบาททางการเมืองและส่ง น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ลงแทน

              ก่อนหน้านี้นายวิสารถูกคาดการณ์ว่าจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่นายใหญ่กังวลว่า นายวิสารจะเข้ามารื้อระบบในกระทรวงทรัพยากรฯ เช่นเดียวกับสมัยนายยงยุทธ และเป็นที่มาของการรื้อรีสอร์ทตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ

              นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็น ส.ส.ยโสธร และทำหน้าที่เป็นทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เขาเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาได้ลงเล่นการเมืองและสังกัดมาหลายพรรค ไม่ว่าจะเป็นพรรคชาติไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาชน พรรคความหวังใหม่ ขณะที่ในนามพรรคไทยรักไทยเขายังไม่เคยลงรับสมัครเลือกตั้ง แต่ก็เป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาก็ลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย

              นายพีรพันธุ์ มีความสัมพันธ์อันดีกับ ส.ส.ในพรรคหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายจาตุรนต์ ฉายแสง อีกทั้งทำงานให้พรรคมานาน จึงถึงลำดับที่ควรจะขึ้นชั้นเป็นรัฐมนตรี โดยครั้งนี้จะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แทน นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ซึ่งมีปัญหาภายในกระทรวงจนถูกประท้วงและถูกปรับออกในที่สุด

              นายชัยเกษม นิติสิริ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตอัยการสูงสุด ระหว่างปี 2550-2552 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด) สำนักงานอัยการสูงสุด เขาได้รับตำแหน่งในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลายตำแหน่ง เช่น ประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม

              อย่างไรก็ตาม นายชัยเกษมถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ฟ้องร้องคดีจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX 9000 ในฐานะอดีตกรรมการบริหารการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ต่อมาเมื่อ คตส.หมดวาระได้มีการโอนคดีนี้มายังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ ป.ป.ช.ได้มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนเขาอยู่ในขณะนี้

              นายสรวงศ์ เทียนทอง ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสรวงศ์เป็นบุตรชายนายเสนาะ เทียนทอง นักการเมืองรุ่นเก๋า โดยครั้งนี้เขาจะเข้ามาแทนในโควตาของกลุ่มนายเสนาะ ทำให้นายฐานิสร์ เทียนทอง หลานนายเสนาะ ต้องพ้นจากตำแหน่ง รมช.อุตสาหกรรม
...............................
(หมายเหตุ : ปรับครม.ปู5กอบกู้'ขาลง' เร่งรัด'ทักษิณ'กลับบ้าน :  สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์รายงาน)